อาญา

http:www.oocities.org/thailegal ศูนย์รวมความรู้ทางด้านกฎหมายไทย Update everyweek

<Home> <Webboard> <Guestbook> <Condition> <About Me>

 <Education> <Legal Word> <Cooffee Break> <The Rule of Law>

 <แพ่งและพาณิชย์> <วิธีพิจารณาความแพ่ง> <วิธีพิจารณาความอาญา> <อาญา> <คำคม>

 

ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 บัญญัติว่า 

"ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด"

หลักเกณฑ์การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
1. มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
2.ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
3.ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายนั้น
4. การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต

การป้องกันเกินขอบเขตมี 2 กรณี คือ
1. การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
2. การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ประกอบด้วยหลัก
1. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายนั้น
ด้วยวิถีทางน้อยที่สุดเท่าที่จำต้องกระทำ หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีวิถีทางน้อยที่สุด และ
2. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันโดยไ
ด้สัดส่วนกับภยันตราย หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีสัดส่วน

ผู้ตายใช้เท้าถีบรถจักรยานยนต์ของจำเลยจนล้มลงแล้วเข้าชกต่อยทำร้าย จำเลยจึงใช้มีดทำครัวแทงผู้ตายไป 1 ที ที่บริเวณ อวัยวะสำคัญ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายเข้าถีบจำเลย จำเลยจึงใช้มีดแทงอีก 1 ที เช่นนี้ การกระทำของจำเลย เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2543 ว่า 

ผู้ตายเป็นคนก่อเรื่องขึ้นจากกรณีไม่พอใจที่มีคนมองหน้าบริเวณลานจอดรถหน้าร้านอาหาร ถึงขนาดให้ผู้เสียหายจอดรถ กลางสะพาน และไม่ทันที่ผู้เสียหายจอดรถ ผู้ตายก็ลงจากรถไปก่อน แล้วยืนดักคอยรถของจำเลยที่กลางสะพาน แสดงถึง ความวู่วาม อารมณ์ร้อนและไร้เหตุผลของผู้ตาย เมื่อจำเลยขับรถจักรยานยนต์มาถึง ผู้ตายก็แสดงตนเป็นอันธพาล ใช้เท้า ถีบรถจักรยานยนต์จนล้มลง ทั้งยังเข้าชกต่อยทำร้ายจำเลย ขณะนั้นเป็นยามวิกาล เมื่อจำเลยถูกทำร้ายโดยไม่ทราบสาเหตุ พฤติการณ์ในลักษณะจู่โจมและเกิดขึ้นโดยฉับพลันทันทีของผู้ตาย ย่อมมีเหตุที่ทำให้จำเลยเข้าใจไปได้ด้วยสามัญสำนึกของ คนทั่วไปว่าผุ้ตายกับพวกอาจดักรอชิงรถจักรยานยนต์ หรือมิฉะนั้นก็อาจประสงค์ร้ายต่อภริยาจำเลยที่นั่งซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์มากับจำเลย ยิ่งไปกว่านั้นจากคำเบิกความของผู้เสียหายตอบคำถามค้านก็ยอมรับว่าผู้เสียหายสูง 172 เซนติเมตร ส่วนผู้ตายสูง 159 เซนติเมตร และระหว่างผู้เสียหาย ผู้ตาย กับจำเลยนั้น จำเลยเตี้ยที่สุด ซึ่งตรงตามภาพถ่าย ที่ปรากฏในหมาย จ.13 ถึง จ.18 ว่าจำเลยมีรูปร่างเล็กมาก ไม่มีทางสู้แรงปะทะของผู้ตายและผู้เสียหาย หรือหนีรอดพ้น จากการกระทำเยี่ยงอันธพาลของผู้ตายได้ การที่จำเลยซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อครัวที่พกติดตัวเป็นอาวุธแทงผู้ตายเพียง 1 ที แต่บังเอิญไปถูกอวัยวะสำคัญ ผู้ตายจึงถึงแก่ความตาย และเมื่อผู้เสียหายเข้ามาถีบจำเลย จำเลยย่อมเข้าใจไปได้เช่นกันว่า ผู้เสียหายได้เข้าช่วยรุมทำร้ายจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธมีดดังกล่าวแทงผู้เสียหายเพียง 1 ที เช่นกัน การกระทำของจำเลย จึงเป็นการกระทำป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่เป็นความผิด มิใช่ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ ปี 2543 เล่ม 4 หน้า 26)

Thailegal 05/02/44  



 

Webmaster : Thailegal
more information,contact : thailegal@yahoo.com
Copyright(c)2000,Thailegal,All Right Reserved