กรรมการผู้ประทับตราบริษัทในเช็ค
โจทก์ฟ้องจำเลยที่
1
ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด
และจำเลยที่ 2
ในฐานะกรรมการ
ว่าร่วมกันสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้ว
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน
ขอให้ลงโทษตาม
พ.ร.บ.
ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
พ.ศ.2534
มาตรา
4
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว
เห็นว่าคดีมีมูล
ให้ประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า
จำเลยทั้งสองมีความผิดตามฟ้อง
เรียงกระทง
ลงโทษตาม
ป.อ. มาตรา 91
ลงโทษจำเลยที่ 1
ตามเช็คฉบับที่ 1
ถึงฉบับที่ 4
ปรับกระทงละ
20,000 บาท และเช็คฉบับที่
5 ปรับ 40,000 บาท จำคุก
จำเลยที่
2 ตามเช็คฉบับที่ 1
ถึงฉบับที่ 4 กระทงละ 2
เดือน และเช็คฉบับที่
5
จำคุก 4 เดือน
รวมลงโทษปรับจำเลยที่
1 เป็นเงิน 120,000 บาท จำคุก
จำเลยที่
2 มีกำหนด 12 เดือน
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ
เป็นประโยชน์
แก่การพิจารณา
มีเหตุบรรเทาโทษ
ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา
78 กึ่งหนึ่ง
คงปรับจำเลยที่
1 เป็นเงิน 60,000 บาท
จำคุกจำเลยที่ 2
มีกำหนด 6 เดือน
หากจำเลยที่
1
ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม
ป.อ. มาตรา 29
จำเลยที่
2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า
ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่
2 นอกจากที่
แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
แม้ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่า
จำเลยที่ 2 มิใช่
เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท
แต่เมื่อเช็คพิพาทเป็นของบริษัทจำเลยที่
1 ซึ่ง
จำเลยที่
2
เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทจำเลยที่
1 และมี
อำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัทจำเลยที่
1 ได้ ย่อมต้องทราบฐานะ
การเงินของบริษัทจำเลยที่
1
ว่ามีเงินพอที่จะจ่ายตามเช็คได้หรือไม่
ดังนั้น
เมื่อจำเลยที่
2
เป็นผู้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่
1 ในเช็คพิพาท
และส่งมอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้
จึงถือได้ว่าจำเลยที่
2 ได้
ร่วมกระทำผิดตามฟ้องด้วยแล้ว
เพราะความผิดตาม
พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิด
อันเกิดจากการใช้เช็ค
พ.ศ.2534
ไม่ได้จำกัดเฉพาะว่าผู้กระทำผิดคือผู้ออก
เช็คเท่านั้น
บุคคลอื่นก็อาจร่วมกระทำผิดเป็นตัวการด้วยได้
ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า
จำเลยที่ 2
มีความผิดตามฟ้องด้วย
แต่ให้
รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่
2 ไว้
เนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยที่
2
ไม่ร้ายแรงนัก
ทั้งจำเลยที่ 2
ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนเป็นเงิน
79,000
บาท
ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้
ถือได้ว่าจำเลยที่ 2
ได้
พยายามบรรเทาผลร้ายแล้ว
ประกอบกับจำเลยที่ 2
ไม่เคยรับโทษจำคุก
มาก่อน
เป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่
5637/2542
บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
พ.ศ.2534
มาตรา
4
ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1)
เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
(2)
ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
(3)
ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ได้
ในขณะที่ออกเช็คนั้น
(4)
ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตาม
เช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
(5)
ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าธนาคารปฏิเสธ
ไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น
ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ
|