รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
คดีสืบเนื่องมาจากพนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรีแผนกคดีเยาวชน
และครอบครัว
ได้ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ฐานแข่งรถใน
ทางโดยมิได้รับอนุญาต
และขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความ
เดือดร้อนของผู้อื่น
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ.2522 มาตรา
43(8),134,160,160
ทวิ
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 33
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด
15 วัน
และปรับ
2,500
บาท
โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด
1 ปี
และสั่งริบรถ
จักรยานยนต์
หมายเลขทะเบียน
จันทบุรี บ
- 5190 ของกลาง
ผู้ปกครองของจำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถจักรยานยนต์
ของกลางแก่ผู้ร้อง
เนื่องจากผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง
และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดดังกล่าว
ตามประมวล
กฎหมายอาญา
มาตรา 36
โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า
ผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ
จักรยานยนต์ของกลาง
และใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพราะไม่เคยโต้แย้ง
กรรมสิทธิ์หรือขอคืนจากพนักงานสอบสวน
นอกจากนี้ผู้ร้องยังรู้เห็น
เป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า
ตามพฤติการณ์ถือว่าผู้ร้องรู้เห็น
เป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย
มีคำสั่งให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค
1
แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
พิพากษากลับ
ให้คืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้ผู้ร้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิจารณาแล้ว
ปรากฏว่า
ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์ของกลาง
และเป็นมารดา
ของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์
แต่การที่ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์
ของกลางไว้ที่บ้านโดยบุคคลในบ้านทุกคนสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่
รถจักรยานยนต์ของกลางได้
จำเลยสามารถหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์
ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด
ในวันเกิดเหตุจำเลย
ได้นำกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกกล่าวผู้ร้อง
และผู้ร้องไม่ทราบว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปใช้ในการกระทำ
ความผิดนั้น
แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถ
จักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้อง
การใช้
โดยไม่คำนึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถ
ไปใช้ในกิจการใด
เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่
แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเช่นนี้
ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
1
แผนกคดีเยาวชน
และครอบครัว
โดยให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
เป็นคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่
1589/2542
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา
36
ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา
33 หรือ
มาตรา
34 ไปแล้ว
หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของที่แท้
จริงว่า
ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ก็ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สิน
ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ในความครอบครอง
ของเจ้าพนักงาน
แต่คำเสนอของเจ้าของที่แท้จริงนั้น
จะต้องกระทำต่อ
ศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
|