วิธีพิจารณาความแพ่ง

http:www.oocities.org/thailegal ศูนย์รวมความรู้ทางด้านกฎหมายไทย Update everyweek

 <Home> <Webboard> <Guestbook> <Condition> <About Me>

 <Education> <Legal Word> <Cooffee Break> <The Rule of Law>

 <แพ่งและพาณิชย์> <วิธีพิจารณาความแพ่ง> <วิธีพิจารณาความอาญา> <อาญา> <คำคม>

 

คำขอให้พิจารณาคดีใหม่

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา บัญญัติว่า

"คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย ที่ขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน จะต้องได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่ กำหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่ วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น

คำขอตามวรรคหนึ่ง ให้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดยื่นคำให้การ และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลท
ี่แสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ และในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้า ให้แสดงเหตุแห่งการที่
ล่าช้านั้นด้วย"

หมายเหตุ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ มีข้อความบางส่วนตรงกับมาตรา 208 เดิม

คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องระบุข้อความอะไรบ้าง หากศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และได้ดำเนินการ ไต่สวนพยานจำเลยไปบ้างแล้ว ศาลจะมีอำนาจเพิกถอนคำสั่ง เนื่องจากคำร้องระบุเหตุไม่ครบถ้วนตามกฎหมายและสั่งไม่รับ คำร้องได้หรือไม่ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1340/2543 ว่า

คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยกล่าวอ้างแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดและเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้า ไม่ได้กล่าวอ้างหรือ แสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไร และ ไม่ได้แสดงเหตุผลว่าหากมีการอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร เป็นคำร้องที่มิได้กล่าวโดยละเอียด ชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องและไต่สวนพยานจำเลยไปบ้างแล้ว ก็มีอำนาจ เพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับคำร้องเพื่อให้ถูกต้องได้ เพราะมีอำนาจสั่งได้เมื่อเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหาย ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น

หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ เป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติมาตรา 208 ซึ่งถูกแก้ไขโดยระบุไว้ในมาตรา 199 จัตวา

(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ ปี 2543 เล่ม 4 หน้า 52)

Thailegal 05/02/44


Webmaster : Thailegal
more information,contact : thailegal@yahoo.com
Copyright(c)2000,Thailegal,All Right Reserved