วิธีพิจารณาความอาญา

http:www.oocities.org/thailegal ศูนย์รวมความรู้ทางด้านกฎหมายไทย Update everyweek

<Home> <Webboard> <Guestbook> <Condition> <About Me>

 <Education> <Legal Word> <Cooffee Break> <The Rule of Law>

 <แพ่งและพาณิชย์> <วิธีพิจารณาความแพ่ง> <วิธีพิจารณาความอาญา> <อาญา> <คำคม>

 

อำนาจสอบสวนคดีจูนโทรศัพท์มือถือ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 บัญญัติว่า

"พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง

แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ"

พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาลักทรัพย์และร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการ วิทยุคมนาคมเพิ่มเติม โดยไม่มีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายได้หรือไม่ และตำรวจท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่หรือท้องที่ที่ ผู้เสียหายอยู่มีอำนาจสอบสวน ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2543 ว่า

"ความผิดในข้อหาลักทรัพย์และข้อหาร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม เป็นคดีอาญา แผ่นดินอันมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตาม ป.วิ.อ.ม.121 วรรคสอง เมื่อมีความผิดอาญาแผ่นดินเกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่ต้องสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดให้พนักงาน สอบสวนทำการสอบสวนเพื่อเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวงตาม ป.วิ.อ.ม.18 ประกอบ ม.121 วรรคหนึ่ง ไม่ว่า จะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษผู้กระทำผิดหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนรวมทั้งการที่พนักงานอัยการ สั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว

ความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องเกิดจากโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกับพวกนำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลข ประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสาร แห่งประเทศไทย แม้จำเลยกับพวกจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของจำเลย แต่ผลของการกระทำก็เกิดขึ้นแก่โทรศัพท์ มือถือของผู้เสียหาย ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกันระหว่าง ท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดขัดข้องซึ่งอยู่ในท้องที่ สน.พญาไท พนักงาน สอบสวน สน.พญาไท จึงมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนได้กระทำโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

โทรศัพท์มือถือที่ ช. ซื้อมาจากบริษัทจำเลยผ่านทาง ม. นั้น เป็นโทรศัพท์ที่คนของบริษัทจำเลยทำการลักลอบปรับเปลี่ยน ช่องสัญญาณความถี่เป็นช่องสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขของผู้เสียหาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบกวนและขัดขวางการใช้ โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ม.26 และเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้ง ข้อหาเพิ่มเติมว่าร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม จำเลยก็ให้การรับสารภาพ จาก พยานหลักฐานของโจทก์และพฤติการณ์แห่งคดี แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยน ช่องสัญญาณความถี่หรือถอดรหัสสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็ฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือสมรู้ร่วมคิด กับพวกอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมประกอบธุรกิจอันไม่ชอบ

(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ ปี 2543 เล่ม 3 หน้า 39)

Thailegal 27/01/44  


Webmaster : Thailegal
more information,contact : thailegal@yahoo.com
Copyright(c)2000,Thailegal,All Right Reserved