ไม่มีคำว่า
"กู้ยืม"
ในหลักฐานเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1776/2541 คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามที่บัญญัติไว้ใน
ป.พ.พ. ม.653
วรรคหนึ่ง
มิได้เคร่งครัด
ถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้น
เมื่อเอกสาร
มีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมเงินโจทก์รวม
116,000 บาท
มีลายมือชื่อจำเลยลงไว้
แม้ลายมือชื่อมิได้อยู่ในช่องผู้กู้
แต่มีตัวโจทก์มาสืบประกอบอธิบายว่าเหตุที่ให้จำเลยกู้ยืมเงิน
เพราะเห็นว่าจำเลยเป็นคนน่าเชื่อถือได้
โดยจำเลยกู้เงินไป
เพื่อทำสวน
จำเลยเองก็เบิกความว่าตนมีสวนอยู่
80 ไร่ ใช้
ปุ๋ยครั้งละประมาณ
2 ตัน
เป็นเงินเกือบ
20,000 บาท จำเลย
ถูกธนาคารฟ้องเรียกเงินที่กู้ยืม
แสดงว่าฐานะของจำเลยไม่ดี
นัก
เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารที่มีข้อความระบุว่าจำเลย
เป็นหนี้โจทก์
จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
จำเลยต้อง
รับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้น
(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ปี 2541 เล่ม 4
หน้า 133)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3871/2536 แม้ในเอกสารจะไม่มีข้อ
ความว่าจำเลยกู้เงินโจทก์
แต่มีข้อความว่าจำเลยจะจ่ายเงิน
ตามคำสั่งของโจทก์รวม
25,000
เหรียญสหรัฐ
แสดงว่า
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในจำนวนเงินดังกล่าว
และจำเลยลงชื่อไว้
เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน
(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ปี 2536 เล่ม 11
หน้า 231)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2982/2535
หลักฐานแห่งการกู้ยืม
เป็นหนังสือนั้น
กฎหมายมิได้มีความหมายเคร่งครัดถึงกับว่า
จะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้นไม่
เมื่อโจทก์มีหนังสือ
รับสภาพหนี้ซึ่งมีใจความว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และจำเลยรับว่า
จะชดใช้เงินแก่โจทก์
กับมีลายมือชื่อจำเลยในฐานะลูกหนี้ลง
ไว้มาแสดง
ทั้งมีพยานบุคคลมาสืบประกอบอธิบายถึงมูลหนี้
ดังกล่าว
ถือได้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่ง
การกู้ยืมเป็นหนังสือตามที่
ป.พ.พ. ม.653
บัญญัติไว้แล้ว
(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ปี 2535 เล่ม 10
หน้า 122)
|