วิธีการสอบคัดเลือก
การคัดเลือกผู้พิพากษาในประเทศไทยมีการคัดเลือก
2 วิธี คือ
การสอบคัดเลือก (สนามใหญ่)
และการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมาย
(สนามเล็ก)
1. การสอบคัดเลือก (สนามใหญ่)
จะมีการเปิดสอบเป็นคราว
ๆ ไป
โดยกองงานคณะกรรมการตุลาการจะเป็นผู้แจกใบสมัคร
ส่งไปตรวจร่างกาย
ตรวจสอบคุณสมบัติ
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ
ดำเนินการสอบและประกาศผลสอบ
2 .การทดสอบความรู้ในวิชากฎหมาย
(สนามเล็ก)
มีสิทธิยื่นใบสมัครได้ตลอดเวลา
เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วน
โดยกองงาน
คณะกรรมการตุลาการจะเป็นผู้รับสมัคร
ส่งไปตรวจร่างกาย
ตรวจสอบ คุณสมบัติ
ดำเนินการสอบและประกาศผลสอบ
สนามใหญ่
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
จะต้องเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตที่สอบไล่ได้เนติบัณฑิต
เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายที่
ก.ต.
กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
2 ปี อายุไม่ต่ำกว่า 25
ปี สัญชาติไทย
ผ่านการตรวจร่างกายของคณะกรรมการแพทย์
และ ก.ต.
เห็นควรรับสมัคร
หลักฐานในการสมัครสอบ
1.
ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต
(แสดงต้นฉบับด้วย)
2.
ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย
ฯ (แสดงต้นฉบับด้วย)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
หรือ
บัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกัน)(แสดงต้นฉบับด้วย)
4.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
(กรณีเป็นทนายความ
ให้นำหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย)
5.
ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
(ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
6. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว
ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
จำนวน 4 รูป (เขียนชื่อ-สกุลด้านหลัง)
7.
เงินค่าธรรมเนียมการสอบ
100 บาท
8. เงินค่าตรวจร่างกาย
600 บาท (จ่ายวันไปตรวจร่างกาย)
กรณีเคยสมัครแล้วและมีสิทธิสอบใช้หลักฐานเฉพาะใบสมัครและข้อ
5, 6, 7 และ 8
การสอบคัดเลือก
มีการสอบข้อเขียน 3 วัน
วันที่หนึ่ง
สอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายอาญา จำนวน 10 ข้อ
เวลา 4 ชม. คะแนนเต็ม 100
คะแนน
วันที่สอง
สอบวิชากฎหมายลักษณะพยาน
จำนวน 3 ข้อ
วิชากฎหมายพระธรรมนูญ
ศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา
ในศาลแขวง จำนวน 1 ข้อ
และให้เลือกสอบในลักษณะวิชา
กฎหมายล้มละลาย
กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและ
ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายปกครอง กฎหมาย
ทรัพย์สินทางปัญญา
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศวิชาใดวิชาหนึ่ง
จำนวน 2 ข้อ
รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด
6 ข้อ เวลา 2
ชั่วโมงครึ่ง
คะแนนเต็ม 60 คะแนน
และวิชาภาษาอังกฤษ
เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง
คะแนนเต็ม 10 คะแนน
สำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ
ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะ
วิชาใดในวันสมัครสอบ
วันที่สาม
สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำนวน10 ข้อ เวลา 4
ชั่วโมง คะแนนเต็ม 100
คะแนน
การสอบปากเปล่า
เนื้อหาครอบคลุมลักษณะวิชาที่สอบข้อเขียน
ตามแต่คณะ
อนุกรรมการสอบฯจะเห็นสมควรกำหนดเวลาประมาณคนละ
15 นาที คะแนนเต็ม 100
คะแนน
|
|
|
เกณฑ์ที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ
50 ของคะแนนสอบข้อเขียน
ทั้งหมดจึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าและต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบ
ปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ
60 ของคะแนน
ทั้งสองอย่างรวมกัน
วิชาชีพทางกฎหมายที่
ก.ต. รับรอง
1. ทนายความ
2. จ่าศาล,รองจ่าศาล
3. ข้าราชการ
พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างส่วนราชการปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
4.
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
5.
เจ้าพนักงานบังคับคดี
6. พนักงานคุมประพฤติ
7. อัยการ
8.
นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
9.อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
10.
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
11.เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
ป.ป.ช.
12.
ลูกจ้างกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ
หรือพนักงานบังคับคดี
13.
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน
(ส.ต.ง.)
14.ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
15.พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานในสถาบันการเงินที่
ก.ต.รับรอง
ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
16.
ตำแหน่งเจ้าหน้าที่กฎหมาย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
17. ตำแหน่งนิติกร
ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
จำกัด (มหาชน)
18. ตำแหน่งเสมียน
ธนาคารไทยทนุ จำกัด
19.
ตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัย
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
จำกัด
20. ตำแหน่งงานนิติกรรม
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
21. ตำแหน่งนิติกร
ธนาคารทหารไทย จำกัด
22.
ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย
ฝ่ายกฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์
บริษัท
เงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ
จำกัด (มหาชน)
23. ตำแหน่งนิติกร
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์
ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน)
24.
ตำแหน่งพนักงานชั้นกลาง
แผนกธุรกรรมกฎหมาย
บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ
จำกัด (มหาชน)
25.
ตำแหน่งนิติกรธนาคารนครธน
จำกัด (มหาชน)
26.
เจ้าหน้าที่นิติกรรมสัญญา
บริษัท
เงินทุนภัทรธนกิจ
จำกัด (มหาชน)
27. ผู้ช่วยผู้จัดการ
ฝ่ายกฎหมาย บริษัท
เงินทุนหลักทรัพย์เอ็มซีซี
จำกัด (มหาชน)
28.
เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
จำกัด (มหาชน)
29. นิติกรอาวุโส
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
|
|
|
สนามเล็ก
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิทดสอบความรู้
เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต
สอบไล่ได้เนติบัณฑิต
เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
ผ่านการตรวจร่างกายของคณะกรรมการ-แพทย์แล้ว
และ
1.
สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมี
หลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่า
3 ปี ซึ่ง ก.ต.
เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
หรือ
2.
สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมี
หลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่า
2 ปี
หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่า
2 ปี ซึ่ง ก.ต.
เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายที่
ก.ต.
กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
1 ปี หรือ
3.
สอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย
แห่งเนติบัณฑิตยสภา
ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายที่
ก.ต.
กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
1 ปี หรือ
4.
สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศไทย
ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
ที่ ก.ต.
กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
1 ปี
วิชาที่บังคับเรียน
จะต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายดังต่อไปนี้
1. กฎหมายอาญา
2. กฎหมายแพ่ง
ลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด
3.
กฎหมายลักษณะพยานหลักฐานหรือ
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หรือ
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
หรือกฎหมายล้มละลาย
4.
กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น
ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์2
ลักษณะ หรือ 1 ลักษณะ
กับ
กฎหมายพิเศษที่ระบุ
ข้างท้ายอีก 1 วิชา
หรือกฎหมายพิเศษดังต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า
2 วิชาได้แก่
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายปกครอง
กฎหมายพาณิชย์นาวี
กฎหมายโทรคมนาคม
กฎหมายสิ่งแวดล้อม
กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ
กฎหมายสิทธิมนุษยชน
กฎหมายคอมพิวเตอร์
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายเครื่องหมายการค้า
กฎหมายสิทธิบัตร
กฎหมายลิขสิทธิ์
กฎหมายเด็ก และเยาวชน
กฎหมายครอบครัว
กฎหมายแรงงาน
กฎหมายภาษีอากร
กฎหมาย ระหว่างประเทศ
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
กฎหมายระงับข้อพิพาทโดย
อนุญาโตตุลาการ
กฎหมายธุรกิจ
กฎหมายการลงทุน
กฎหมายการเงินการธนาคาร
กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หรือกฎหมายป้องกันการผูกขาด
|
|
|
หลักฐานในการสมัครสอบ
1.
หนังสือถึงท่านเลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ
2.
ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต
และนิติศาสตร์มหาบัณฑิต
(แสดงต้นฉบับด้วย)
3.
สำเนาใบรันรองคะแนนรายวิชาในระดับ
ปริญญาโท (แสดงต้นฉบับด้วย)
4.
ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย
ฯ (แสดงต้นฉบับด้วย)
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
หรือ
บัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกัน)
(แสดงต้นฉบับด้วย)
6.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
(กรณีเป็นทนายความ
ให้นำหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความ
มายื่นด้วย)
7.
ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
(ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
8. สำเนาหนังสือเดินทาง
(passport)
กรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ
ให้ระบุจำนวนครั้งของการเดินทาง
และวันเดือนปีที่เข้าออกประเทศไทย
9. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว
ถ่ายไว้ไม้เกิน 6 เดือน
จำนวน 3 รูป (เขียนชื่อ-สกุลด้านหลัง)
10. เงินค่าตรวจร่างกาย
600 บาท (จ่ายวันไปตรวจร่างกาย)
หากเอกสารที่ยื่นเป็นภาษาต่างประเทศ
ผู้สมัครต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทย
และกรณีที่เป็นคุณวุฒิ
จากสถาบันการศึกษาที่
ก.ต.ไม่เคยรับรอง
จะต้องยื่นรายละเอียดหลักสูตรด้วย
เช่น Bulletin,Calendar
กรณีเคยสมัครแล้วและมีสิทธิสอบใช้หลักฐานเฉพาะ
ใบสมัครและข้อ 1, 7, 9 และ 10
|
|
|
การทดสอบความรู้ในวิชากฎหมาย
มีการสอบข้อเขียนในวิชาต่าง
ๆ คือ วิชากฎหมายอาญา
จำนวน 2 ข้อ
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์จำนวน
2 ข้อ
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำนวน 2 ข้อ
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำนวน 2 ข้อ
กฎหมายลักษณะพยาน
จำนวน 1 ข้อ
และให้เลือกสอบในลักษณะวิชาพระธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม
กฎหมายปกครอง
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
จำนวน 1 ข้อ
รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด
10 ข้อ เวลา 4 ชั่วโมง
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
สำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ
ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะ
วิชากฎหมายใดในวันสมัครสอบ
การสอบปากเปล่า
กำหนดเวลาประมาณคนละ 15
นาที คะแนนเต็ม 40 คะแนน
เกณฑ์ที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ผู้สมัครต้องสอบได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ
50 ของคะแนนสอบ
ข้อเขียนทั้งหมดจึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า
และต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับ
สอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 60
ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ฝ่ายสอบบรรจุแต่งตั้งและอัตรากำลัง
กองงานคณะกรรมการตุลาการ
โทร. 5412295 หรือ
5412284-90 ต่อ 1270-1
|