กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ 10. กรณีข้อ (ก)
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขลดโทษให้หนึ่งในสาม
โดยลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
เป็นเพียงแก้ไขโทษที่ลง
มิได้แก้ไขบทด้วย
การแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขเล็กน้อย
แม้จะลงโทษจำคุกเกิน 5
ปี
ก็ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหา
ข้อเท็จจริง
ที่โจทก์ฎีกาว่า
การกระทำของจำเลยเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมขอไม่ให้ลดโทษเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการ
ลงโทษของศาลอุทธรณ์
เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.ม.218
วรรคสอง (ฎ.829/2540)
กรณีข้อ
(ข)
การพิจารณาโทษว่าต้องห้ามหรือไม่
จะต้องพิจารณาจากโทษสุทธิแต่ละกระทงไป
กรณีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก
กระทงละ 5 ปี
ลดโทษให้หนึ่งในสาม
คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 4
เดือน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
แต่ละกระทงลงโทษจำคุก
ไม่เกิน 5 ปี
จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำ
ความผิดเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.ม.218
วรรคหนึ่ง (ฎ.6594/2540,717/2541)
ดังนี้
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาตามข้อ
(ก) และ (ข) ไม่ได้
thailegal
02/02/44
|