ข้อ
1. (ก)
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างบริษัทเอ
จำกัด กับบริษัทบี
จำกัด
จะทำขึ้นในต่างประเทศ
แต่เมื่อบริษัทบี
จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนและมี
ภูมิลำเนาในประเทศไทยปฏิบัติผิดสัญญา
บริษัทเอ จำกัด
ซึ่งจดทะเบียนและมี
ภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องบริษัทบี
จำกัด เป็นจำเลย
ต่อศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม
ป.วิ.พ. ม.4(1) (ฎ.447/2540)
(ข)
คำสั่งศาลไม่ชอบ
เพราะการที่เจ้ามรดกกับผู้ร้องอยู่กินร่วมกันที่บ้านจังหวัด
สมุทรปราการมานานถึง 20
ปี มีบุตรด้วยกัน 4 คน
และซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัด
สมุทรปราการด้วย
แสดงว่าเจ้ามรดกมีบ้านอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นสถาน
ที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่ง
ดังนั้น
บ้านที่จังหวัดสมุทรปราการจึงเป็น
ภูมิลำเนาของเจ้ามรดกตาม
ป.พ.พ. ม.37
ในขณะถึงแก่ความตายด้วย
ผู้ร้อง
จึงมีสิทธิเสนอคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกต่อศาลจังหวัดสมุทร
ปราการได้ตาม ป.วิ.พ. ม.4
จัตวา วรรคแรก (ฎ.5912/2539)
thailegal
09/11/43
|