กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ 9.
การที่ทนายโจทก์มาศาลแต่ไม่ได้เข้าไปในห้องพิจารณาตามกำหนดนัดเนื่องจากติดว่าความคดีอื่น
แม้ทนายโจทก์
จะอยู่ในบริเวณศาล
ก็ถือไม่ได้ว่าทนายโจทก์มาศาลตามกำหนด
(ฎ.253/2531)
อย่างไรก็ตามเมื่อทนายโจทก์มอบฉันทะ
ให้นายสุริยายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลชั้นต้น
โดยในหนังสือมอบฉันทะมีใจความว่าทนายโจทก์ขอมอบฉันทะให้นาย
สุริยาทำการแทนในกิจการที่เกี่ยวกับการยื่นคำร้อง
ฟังคำสั่ง
และกำหนดวันนัดแทน
โดยทนายโจทก์ยอมรับผิดชอบใน
กิจการที่นายสุริยาทำไปทุกประการ
เช่นนี้
การแต่งตั้งนายสุริยาเสมียนทนายให้ทำการแทนจึงเป็นไปโดยชอบตาม
ป.วิ.พ.ม.64 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.ม.15
นายสุริยาจึงมาศาลในฐานะผู้ทำการแทนทนายโจทก์
กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์
ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามความใน
ป.วิ.อ.ม.166 วรรคหนึ่ง
เพราะคำว่าโจทก์ในบทกฎหมายดังกล่าวย่อมหมายความ
รวมไปถึงทนายโจทก์ด้วย
และที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นายสุริยานำตัวโจทก์มาศาลและให้ทนายโจทก์จัดหาทนายความ
คนอื่นมาว่าความแทนโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีอีก
นายสุริยาจึงโทรศัพท์ติดต่อกับทนายโจทก์แล้วแถลงต่อศาลว่า
ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีไปเวลาบ่ายเพื่อติดตามพยาน
ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วนั้น
จะถือว่าการเป็นผู้รับมอบฉันทะ
จากทนายโจทก์ของนายสุริยาสิ้นสุดลงไปแล้วในเวลาเช้าหาได้ไม่
ที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยถือว่าโจทก์ไม่มาศาล
จึงเป็นการมิชอบด้วย
ป.วิ.อ.ม.166 วรรคหนึ่ง
ดังนี้
ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป
(ฎ.4750/2536)
หมายเหตุ
ต้องระวังอย่าสับสนกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่
1739/2528 ที่ว่า
โจทก์และพยานโจทก์ไม่มาศาล
แต่ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมายื่นต่อศาลขอเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้อง
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อน
และถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาเพื่อไต่สวนให้เห็นว่าคดีโจทก์มีมูลและพิพากษายกฟ้อง
ดังนี้
โจทก์จะมาร้องขอให้ยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ตาม
ป.วิ.อ.ม.166 มิได้ เพราะมิใช่กรณีที่ศาลยกฟ้องเพราะเหตุโจทก์
ไม่มาศาลตามกำหนดนัด
กรณีตามข้อสอบเป็นกรณีที่เสมียนทนายโจทก์มาศาล
จึงไม่ถือว่าโจทก์ขาดนัดตาม
ม.166
แต่ศาลไปยกฟ้องโดยอ้าง
ม.166
ถ้าศาลยกฟ้องเพราะไม่มีพยานมาสืบ
ทำได้ตาม ฎ.1739/2528
thailegal
27/01/44
|