แนวคำตอบ

http:www.oocities.org/thailegal ศูนย์รวมความรู้ทางด้านกฎหมายไทย Update everyweek

<Home> <Webboard> <Guestbook> <Condition> <About Me>

 <Education> <Legal Word> <Cooffee Break> <The Rule of Law>

 <แพ่งและพาณิชย์> <วิธีพิจารณาความแพ่ง> <วิธีพิจารณาความอาญา> <อาญา> <คำคม>

 

เนติบัณฑิต สมัยที่ 52 ภาค 2 


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ข้อ 8. คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชอบ เพราะตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว หมายความว่าเมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยถึงกำหนดชำระ เงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ นายดำจะต้องมีอยู่ ธนาคารรวยทรัพย์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ยค้าง ชำระได้ ส่วนจะหักเงินนั้นชำระหนี้เมื่อใดเป็นสิทธิของธนาคารรวยทรัพย์ แต่ถ้าเงินในบัญชี เงินฝากนายดำไม่มีหรือมีแต่ได้หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระหมดแล้ว การหักเงินชำระหนี้ภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีเงินในบัญชีออมทรัพย์ที่จะให้หัก ฉะนั้น การที่นายดำนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายหลังที่ธนาคารรวยทรัพย์นำหนี้ที่ คงเหลือมาฟ้องขอให้นายดำล้มละลายได้เพียง 1 เดือน และธนาคารรวยทรัพย์นำเงินในบัญชีนั้น ไปหักชำระหนี้อีก ย่อมมีผลเป็นอย่างเดียวกับการที่นายดำนำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้ธนาคาร รวยทรัพย์โดยวิธีการข้างต้นทั้งที่ไม่มีเงินพอชำระหนี้ให้เจ้าหนี้อื่น การกระทำของนายดำจึง ทำให้ธนาคารรวยทรัพย์ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้ เพิกถอนการกระทำนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม.115

ส่วนการที่นายดำนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เพื่อชำระหนี้แก่ธนาคารรวยทรัพย์หลังจาก ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของนายดำเด็ดขาด ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ม.22 และ ม.24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มี อำนาจเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้ และเมื่อการชำระหนี้นายดำจะต้องถูกเพิกถอน ก็ไม่มีเงิน ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของนายดำที่ธนาคารรวยทรัพย์จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้เงินกู้ 
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม.102 ได้ (ฎ.2300/2533)

Thailegal 17/01/44  

 



สารบัญข้อสอบ

 

Webmaster : Thailegal
more information,contact : thailegal@yahoo.com
Copyright(c)2000,Thailegal,All Right Reserved