แนวคำตอบ

http:www.oocities.org/thailegal ศูนย์รวมความรู้ทางด้านกฎหมายไทย Update everyweek

 <Home> <Webboard> <Guestbook> <Condition> <About Me> <Education> <Legal Word> <Cooffee Break> <The Rule of Law>
 <
แพ่งและพาณิชย์> <วิธีพิจารณาความแพ่ง> <วิธีพิจารณาความอาญา>
<
อาญา> <คำคม>

เนติบัณฑิต สมัยที่ 52 ภาค 2 

 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ข้อ 3. 

(ก) เมื่อได้รับความเห็นและสำนวนจากพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ.

มาตรา 142 แล้ว ในกรณีที่พนักงานอัยการจะพิจารณาเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง

หรือสั่งฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลมาตรา 143 วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) นั้น มาตรา

143 วรรคสอง (ก) บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งตามที่เห็นควรให้

พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้

ซักถามเพื่อสั่งต่อไป กฎหมายมิได้จำกัดว่าให้สอบสวนเพิ่มเติมเฉพาะฝ่าย

ใดฝ่ายหนึ่งหรือเฉพาะที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนแล้วเท่านั้น เมื่อ

พนักงานอัยการเห็นว่าการสอบสวนไม่กระจ่างชัดในข้อเท็จจริงบางอย่าง

หรือพยานหลักฐานที่รวบรวมมาไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ พนักงานอัยการ

มีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในประเด็นที่ต้องการ

ได้ การที่พนักงานสอบสวนโต้แย้งว่าพนักงานอัยการไม่มีอำนาจสั่งให้

สอบสวนเพิ่มเติมพยานฝ่ายผู้ต้องหา จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ

(ข) เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จและส่งสำนวนให้

พนักงานอัยการแล้ว พนักงานสอบสวนย่อมหมดอำนาจที่จะทำการ

สอบสวนคดีนั้นต่อไป พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม

ได้ก็ต่อเมื่อพนักงานอัยการสั่งเช่นนั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 143 วรรค

สอง (ก) ดังนั้น การที่ภายหลังฟ้องคดี พนักงานสอบสวนเรียกตัวนาย

เกียรติมาสอบสวนเป็นพยานในคดีดังกล่าวอีก จึงเป็นการกระทำที่

ไม่ชอบ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2481)

 Thailegal 11/11/43  

 



สารบัญข้อสอบ

 

Webmaster : Thailegal
more information,contact : thailegal@yahoo.com
Copyright(c)2000,Thailegal,All Right Reserved