กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ 6.ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานพยายาม
ฆ่านายลมตามฟ้องนั้น
ข้อหาความผิดนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
พิพากษายกฟ้อง
คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาทั้งในปัญหา
ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 220
ดังนั้นการที่
โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยที่
1ไม่
เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
และฎีกาด้วยว่าพยาน
หลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดฐานพยายาม
ฆ่านายลม
ขอให้ลงโทษตามฟ้องซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ล้วนต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามมาตรา
220 ดังกล่าวข้างต้น
ทั้งสิ้น
ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์มา
จึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่
2 มีความผิดฐานทำร้าย
ร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตาม
ป.อ. มาตรา 297
จำคุก
6 ปี
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกี่ยวกับจำเลยที่
2 ว่าศาลชั้นต้น
วินิจฉัยชอบแล้ว
เท่ากับพิพากษายืนนั่นเอง
เมื่อศาลอุทธรณ์
พิพากษายืนและให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่
2 เกินห้าปี
กรณีจึงต้อง
ด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 218
วรรคสอง
ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกา
ในปัญหาข้อเท็จจริง
แต่มาตรา 218
วรรคสองนี้ห้ามฎีกาใน
ปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะโจทก์เท่านั้น
หาได้ห้ามจำเลยไม่ ดังนั้น
แม้ฎีกาของจำเลยที่
2
ที่ฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิดฐานทำร้าย
ร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
ขอให้ยกฟ้อง
จะเป็นฎีกา
ในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยที่ 2
ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา
218
วรรคสองดังกล่าวข้างต้น
ดังนั้น
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับ
ฎีกาของจำเลยที่
2 จึงเป็นการไม่ชอบ
Thailegal
11/11/43
|