logo1-2.gif (14784 bytes)

Home
News and Articles
Discussion Forum
About Us
Sign our guestbook
button_mail2.gif (1724 bytes)
  title_articles.gif (4423 bytes)

 

Sustainable development : socio-economic metabloism and colonization of nature
การพัฒนาแบบยั่งยืน : กระบวนการการกระทำทางเศรษฐกิจสังคม ( metabolism ) และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเชิงสร้างสรรค

โดย สุทธิดา ศิริบุญหลง




การปรากฎขึ้นของแนวคิด "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในฐานะแนวคิดหลัก ของประเด็นโต้แย้ง ทางสิ่งแวดล้อม ได้กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในลักษณะสหสาขา   ซึ่งได้นำเอานักวิทยาศาสตร์จากหลายแขนง รวมทั้งกลุ่มการเมือง สังคมที่ขัดแย้งกันเข้าไว้ด้วยกัน ถือได้ว่า แนวคิดดังกล่าวนี้ มีประโยชน์ในอันที่จะระบุและจัดการกับเป้าหมายและกลยุทธในการพัฒนาการวิเคราะห์กลยุทธ   กระบวนการการกระทำทางสังคม และการพลิกกลับของพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงระบบธรรมชาติของสังคมเชิงสร้างสรรค์ต่าง ๆ กันซึ่งถูกแบ่งโดยรูปแบบการผลิต เทคโนโลยีและแนวการดำเนินชีวิต นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า การเพิ่มจำนวนประชากรอย่างอิสระและขนาดของกระบวนการการกระทำทางสังคม ต่อคนของสังคมอุตสาหกรรม จะต้องได้รับการจัดการโดยกลยุทธของการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งกลยุทธดังกล่าวนี้จะได้รับการพัฒนาถ้าเพียงเราเข้าใจสภาพเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในสังคมอุตสาหกรรมที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการการกระทำทางสังคมและมีการโต้ตอบอย่างถูกต้อง
จริง ๆ แล้ว คำว่า "Metabolism" (กระบวนการการกระทำทางสังคม) เป็นแนวคิดทางชีววิทยา ที่หมายถึงกระบวนการภายในของสิ่งมีชีวิต ซึ่งสิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิตจะต้องดำรงการไหลเวียนของสสาร และพลังงานอย่างต่อเนื่องกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การเจริญเติบโตและการผลิตเป็นไปอย่างปกติ ในทำนองเดียวกันระบบสังคมก็เปลี่ยนวัตถุดิบสู่ผลผลิต การบริการ และท้ายที่สุด เป็นของเสีย การวิเคราะห์กระบวนการการกระทำทางสังคม ยังให้โครงร่างสำหรับการแยกแยะวัฒนธรรมสังคมหรือภาคส่วนต่าง ๆ ให้สอดคล้อง ตามลักษณะความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนกับธรรมชาติ ซึ่งอาจพิจารณาได้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
          ๑. ปริมาณการผลิตวัตถุดิบ : กระบวนการการกระทำทางสังคมอาจวัดได้เป็นปริมาณการผลิตวัตถุดิบสำหรับอาหาร ที่พัก เสื้อผ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โดยรวม คือ ในระยะยาวปริมาณสสารที่ป้อนเข้าจะเท่ากับสสารที่นำออก
          ๒. ปริมาณการผลิตพลังงาน : ระบบสังคมถูกขับเคลื่อนโดยกระแสของพลังงาน อย่างน้อยที่สุด ทุกสังคม จะมีกระแสพลิกกลับ ของพลังงานตรงกับบริมาณของพลังงานทางชีววิทยา ที่สมาชิกสังคมต้องการ ซึ่งทุกวันนี้การนำเข้าของพลังงานต่อคน ในสังคมอุตสาหกรรมมีจำนวนมากกว่า ๔๐ เท่าของพลังงานทางชีววิทยามีมนุษย์ต้องการการนำเข้าของวัตถุดิบ และพลังงานของสังคมต่อคนต่อปีถูกกำหนดโดยรูปแบบการผลิต และแนวการดำเนินชีวิต สังคมอาจอยู่ได้ด้วย "ทรัพยากรธรรมชาติแบบทดแทนได้" และขึ้นอยู่กับการผลิตของทรัพยากรเหล่านี้ เช่น น้ำ อากาศ พืช สัตว์ แต่มนุษย์ก็อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ จนหมดหากอัตราการบริโภค มีมากกว่าอัตราการผลิต ของธรรมชาติ   ดังนั้นปัญหาสิ่งแวดล้อมและ "ความยั่งยืน" หลักก็คือ การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ   ในขณะที่การพึ่งพาธรรมชาติอีกลักษณะคือการใช้ "ทรัพยากรธรรมชาติแบบทดแทนไม่ได้" เช่น เชื้อเพลิง แร่ธาตุ ฯลฯ กลับก่อให้เกิดปัญหาอีกลักษณะ คือ ตะกอนของเสียและมลภาวะ   ผลกระทบ จากการใช้ทรัพยากรทั้ง ๒ แบบ ดังกล่าวนี้ เป็นผลกระทบในระยะยาวต่อโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเพิ่มขึ้นของช่องโหว่ Ozone นอกจากนี้แล้วผลที่จะเกิดขึ้น ก็จะแสดงให้เห็น ถึงการรับรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่แตกต่างกันระหว่างประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งให้ความสำคัญกับผลปัญหามลภาวะ ในขณะที่ ประเทศกำลังพัฒนาจะให้ความสำคัญ กับภาวะการขาดแคลนอาหารและน้ำ ส่วนกระบวนการ colonization ก็คือ กระบวนการที่สังคม จะต้องเปลี่ยนระบบธรรมชาต ิสู่แนวทางที่มีแนวโน้มจะเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างถึงที่สุด ทั้งนี้เพื่อรักษาการที่จะดำรงไว้ซึ่งกระบวนการการกระทำทางสังคม เช่น ระบบนิเวศน์วิทยาตามธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยการเกษตรกรรม หรือเพื่อสร้างสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น ปัญหาการพัฒนาแบบยั่งยืน จึงเกิดจากการท ี่กระบวนการการกระทำทางสังคม ดูเหมือนจะมีมากเกินกว่าที่ระบบธรรมชาติจะรับไหว ทั้งในแง้ของผลเสียและการแผ่รังสี
วัตถุดิบถูกนำออกมาจากธรรมชาติ ถูกใช้และเปลี่ยนแปลงโดยวิธีใดวิธีหนึ่งในสังคม และในที่สุดก็กลับคืน สู่วัฏจักรธรรมชาติในรูปแบบของของเสีย และการแผ่รังสี ซึ่งหากนำการหาค่าสถิติมาตรฐานทางเศรษฐกิจมาใช้แล้ว นี่อาจถือเป็นการคำนวณการนำเข้า-ออกของหน่วยวัตถุดิบอย่างง่าย ซึ่งผลจะออกมา เป็นผลผลิตแห่งชาติโดยใช้มาตราเป็นกิโลกรัมต่อตัน แทนหน่วยการเงินที่ใช้ในการคำนวณและหากแบ่งโดยขนาดประชากรแล้ว ตัวเลขนี้อาจะให้มาตราของกระบวนการการกระทำทางสังคมต่อคนในสังคมโดยเฉลี่ยนหรือที่เรียกว่า Araracteristic Metabolism Profile และสามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบกับสังคมที่มีรูปแบบการผลิตอื่นได้ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้น ของอัตรากระบวนการการกระทำทางสังคม จากสังคมที่มีรูปแบบการผลิตแบบเก็บของป่า ล่าสัตว์สู่สังคมเกษตรแสดงให้เห็นการเกิดขึ้นของกระบวนการ colonization ซึ่งเท่ากับเป็นการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบที่มีการจัดการและปันผลให้แรงงานมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นในภายหลัง พร้อม ๆ กับ การทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ มากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม สังคมแบบนี้ยังตระหนักถึงหายนะที่จะเกิดขึ้น จึงได้สร้างระบบความคิดหรือวัฒนธรรมอื่น ๆ ในอันที่ จะสร้างความมั่นคง ให้ตัวเองด้วยกระบวนการ colonization ซึ่งอาจทำได้ดีกว่าในสังคมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีสูงแล้วด้วยซ้ำ เพราะ สังคมแบบหลังนี ้มีการรับรู้ในเรื่องสภาวะแวดล้อม ในลักษณะของราคาผลผลิตที่ขึ้น-ลงหรือชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น โดยที่ผู้คนสามารถ ลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้น ในสังคมผ่านทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งในความเป็นจริงแล้วเกิดขึ้นพร้อมกับความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแบบยั่งยืน จึงเกิดขึ้นได้ยากกว่าในสังคมที่มีการพัฒนาสูง แต่สมาชิกในสังคมก็ไม่อาจปฏิเสธการพัฒนาแนวนี้ได้ เพราะอาจถือได้ว่าเป็นวิธีเดียวที่จะรักษาความสงบสุข และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคมไว้ได้ในระยะยาว.
   กลับไปข้างบน  BACK TO TOP