Software (ซอฟต์แวร์)

ซอฟต์แวร์ (Software)
        หมายถึง โปรแกรมหรืออชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในระบบประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กททรอนิกส์ อาจรวมถึงผลลัพธ์ต่างๆ เช่น ผลการพิมพ์ที่ได้จากเครื่อง คอมพิวเตอร์ ในการสั่งานใดๆ ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการนั้น ต้องอาศัย ซอฟต์แวร์เชื่อม ระหว่างคนหรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์


ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
        หมายถึงโปรแกรมทุกโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับส่วนประกอบต่างๆ ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และอำนวย เครื่องมือสำหรับทำงานพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์


ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ 2 ประเภท คือ
1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
        หมายถึงชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และวอฟต์แวร์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติการของฮาร์ดแวร์
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลักๆ คือ
- จัดการส่วนประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเเตอร์
- จัดการงานในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้้
- ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่น

ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
       สามารถแยกตามฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้เป็น 2 ระบบ
- ระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่อง ไอบีีเอ็มพีซี (IBM Personal Computer)
- ระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่อง แมคออินทอช (Macintosh)
        โปรแกรมประยุกต์ใดๆ จะสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น โดยมากแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะ ไม่สนใจว่าจะใช้ปฏิบัติการใด แต่จะเลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานให้ได้ประโยชน์มากที่สุด แล้วจึง พิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นทำงานบนระบบใด

ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส (MS-DOS)
        เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ในหน่วยความจำ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะใช้งานได้ทันที ขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องเรียกว่าการบูต (Booting) ระบบ คือ บูตสแตรป มีขั้นตอนคือ เมื่อเปิดสวิทซ์เครื่อง โปรแกรมเล็ฏกๆ จะแยู่ในหน่วยความจำรอม จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็น ของระบบปฏิบัติการฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลัก ผลลัพธ์บนจอภาพป็น C> หรือ C:\ โดย C หมายถถึง ดิสก์ไดร์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึง การเตรียมที่จะทำงาน (Prompt) จากนั้นผู้สั่งก็สามารถพิมพ์คำสั่งของเอ็มเอสดอสได้ทันที

ไมโครซอฟต์วินโดส
        นิยมเรียกสั้นๆ ว่าวินโดส์ มีระบบติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิกที่มีสีสัน สวยงามและสามารถใช้งานได้ เรียกระบบที่ติดต่อ กับผู้ใช้ลักษณะนี้ว่า GUI ผู้ใช้ระบบวินโดส์จะทำงานกกัยบ เมนู และรูปภาพที่เรียกว่า ไอคอน แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่างๆ

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
        เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับการจัดการด้านติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิงเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์ เซิร์ฟเวอร์

ระบบปฏิบิติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
        อาทิ เช่นเครื่องระดับเมนเฟรมได้ถูกพัฒนาขึ้นกว่า 2 ทศวรรษนำมาใช้ในด้านธุรกิจและศึกษา ทำให้มีการทำงานที่ซับซ้อนมาก โดยต้อทำการดูแลคำสั่ง งานโปรแกรมหลายพร้อมๆ กันจำนวนหลายๆ โปรแกรม การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้หลายๆ คน

ระบบปฏิบัติการแบบเปิด
        คือถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้น เช่นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นต้น โดยระบบปฏิการยูนิกซ์พัฒนาขึ้นโดย Ken Thomson และ Denni Ritchie ได้ทำงานพัฒนาปนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของ DEC สนับสนุนผู้ใช้ งานจำนวนหลายๆ คนพร้อมกัน โดยใช้หลักการแบ่งเวลา


1.2 ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator)
        ตัวแปลภาษาที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จะต่างกันที่ขั้นตอนที่ใช้ในการแปลภาษาให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจได้ แบ่งออกเป็นดังนี้
- แอสแซมเบลอ (Assember)
        เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลี เป็นภาษาระดับต่ำ
- อินเทอพรีเตอร์ (Interpreter)
        เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ใช้หลักการแปลพร้อมกับทำงานตามคำสั่งทีละบรรทัด ตลอดไปทั้งโปรแกรม ทำให้แก้ไขได้ง่ายและรวดเร็ว
-คอมไพเลอร์
เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง ใช้วิธีแปลโปรแกมทั้งโปรแกรมให้เป็นออปเจคโคต ก่อนที่จะนำไปใช้


2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
        เป็นโปรแกมที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารบัญชี จัดทำเอกสาร ตลอดงานทุกๆ ด้าน

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ สามาราถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน

        ส่วนมากไม่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในองค์การขนาดใหญ่หรืองานที่มีความต้องการเฉพาะด้าน จะใช้วิธีพัฒนา ซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง หรือว่าจ้างบริษัทเพื่อทำซอฟต์แวร์เฉพาะงาน มีข้อดี คือเหมาะสมกับงานและสามารถ แก้ไขเพิ่มเติมได้เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ

2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
        เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่วๆ ไป วางจำหน่ายเป็นชุดสำเร็จรูปให้ผู้ที่ต้องการสามารถนำมา ประยุกต์ใช้กับงานทั่วๆ ไปขององค์กรหรืองานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย ทำให้เป็นซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมสูง สุดในปัจจุบัน


ซอฟต์แวร์จัดพิมพ์เอกสาร
       แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
-เวิร์ดโปรเซสเซอร์ (Word Processing) -เท็กซ์เอดิเตอร์(Text Editor)
-เดสทอปพับลิชชิง (Desktop Publishing)<


ซอฟต์แวร์ประมวลผล (Word Processing)
             เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับพิมพ์เอกสาร โดยมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างเอกสารอย่างมากมาย เช่น การจัดรูปแบบตัวอักษรให้เป็นตัวเอน ตัวหนา เป็นต้น ไฟล์ที่บันทึกไว้เรียกว่า Document มีความสามารถในการทำจดหมายเวียน คือพิมพ์จดหมายฉบับเดียว แต่สามารถระบุชื่อผู้รับได้แตกต่างกัน

เท็กเอดิเตอร์ (Text Editor)
             เป็นโปรแกรมใช้สำหรับพิมพ์งานเช่นเดียวกับเวิร์ดโปรเซสเซอร์ แต่เท็กซ์เอดิเตอร์จะจัดการแต่เพียงความต้องการพื้นฐาน นั่นคือ พิมพ์ข้อความ ลบข้อความ ไม่มีความสามารถในการสะกดคำ การทำตาราง อย่างที่เวิร์ดทำได้ เหตุที่ยังเป็ฯที่นิยม คือ ไมยุ่งยาก ทำงานได้เร็ว ขนาดโปรแกรมเล็ก

ซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ(Desktop Publishing)
             สมัยก่อนมีการจัดพิมพ์เอกสารต้องผ่านกระบวนการมากมาย เรียกรวมกันว่าการเรียงพิมพ์ แต่ปัจจุบันนี้มีเพียงคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรมแบบตั้งโต๊ะเท่านั้น ก็สามารถออกแบบเอกสารให้เป็นที่น่าสนใจได้ โดยซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ จะมีความสามารถด้านการรรจัดเอกสาร ด้านการเรียงพิมพ์ รวมทั้งการจัดสีที่สูงกว่าซอฟต์แวร์ประมวลคำ

ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet)
             ผู้ใช้สามารถพิมพ์หัวข้อหรือชื่อของข้อมูล ซึ่งสามารถคำนวณตามสูตรที่ผู้ใช้กำหนด ยิ่งไปกว่านั้นหากผู้ใช้ เปลี่ยนตัวเลขข้อมูลใดๆ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ปัจจุบันมีผู้ใช้ประโยชน์ของตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ มากมาย ไม่เฉพาะแต่ทางบัญชีเท่านั้น แต่ยังงนิยมใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย

ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presention Software)
             เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้นำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ อาจประกอบด้วยตัวอักษร รูปภาพ แผนผัง รายงายยตลอดจนภาพเคลื่อนไหว นิยมใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ข้อมูลน่าสนใจยิ่งขึ้น

ซอฟต์แวร์กราฟิก (Graphic Software)
             เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพกราฟิกต่างๆ การใช้งานเบื้องต้นทาจนำไปสร้างเอกสาร หรือการนำเสนอข้อมูล การใช้งานนระดับสูง อาจใช้สำหรับตกแต่งภาพหรือรูปถ่าย หรือใช้สำหรับงาน้ดานสถาปัตยกรรม เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database)
             "ฐานข้อมูล (Database)" คือการรจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ในลักษณะที่เป็นระบบระเบียบต่อการเรียกใช้ข้อมูล ที่ต้องการได้อย่างสะดวกก่อนที่จะมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการประมวลผล อินฟอร์เมชันของฐานข้อมูล จะถูกเก็บเป็นรายการบนบัตรดัชนะ ใส่ไว้ในตู้แฟ้มเอกสาร หากต้องการค้นหาข้อมูลต้องใช้เวลานาน แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็ว และสิ้นเปลืองแรงงานน้อยกว่า ด้วยโหรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาสำหรับเก็บและจัดการฐานข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม

โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมีลักษณะดังนี้
             - เก็บและเรียกข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลลแล้ว
             - เปลี่ยนแปลงอินฟอร์เมชันให้เหมาะสมและะปรับปรุงรูปแบบใหม่
             - สร้างผลลัพธ์จากข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้อองการ

ปัญหาจากการใช้ฐานข้อมูลแต่ละอย่างแยกกัน
            - การมีข้อมูลเกินความจำเป็น
            - ขาดการพึ่งพาของข้อมูล
            - ขาดความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของข้อมูล

คำศัพท์และโครงสร้าง และการทำงานพื้นฐานของข้อมูล
             - Field เขต(ข้อมูล) หมายถึง รายละเอียดดของข้อมูลแต่ละอย่างภายในหนึ่งเรคคอร์ด
             - Record ระเบียน หมายถึง ข้อมูลแต่ละราายการ ซึ่งประกอบไปด้วยฟิลด์
             - Table ตาราง หมายถึง กลุ่มของเรคคอร์ดดที่มีฟิลด์เหมือนกันรวมกันไว้

เกณฑ์ในการเลือกแอปพลิเคชันทางด้านดาต้าเบส
             - Data entry screens สามารถถูกกำหนดได้้อย่างไร
             - ต้องใช้ความพยายามเท่าไหร่ในกระบวนการรนำเข้าข้อมูลจริง
             - มีอะไรต้องเกี่ยวข้องในการใช้งานบ้าง<
             - การสร้างผลลัพธ์ออกมาเป็นรายงาน ทำได้้ง่ายหรือไม่
             - การค้นคืนข้อมูล มีมากน้อยแค่ไหน
&             - ฟังก์ชันและคำสั่งต่างๆ สมบูรณ์มากน้ออยแค่ไหน

ซอฟต์แวร์การสื่อสารโทรคมนาคม
             จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นเทอร์มินัล สามารถติดต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีผู้ใช้หลายคนด้วยสายโทรศัพท์ในการดทรติดต่อ และเมื่อต่อได้แล้วก็จะพยายามใช้งานระบบต่างๆ ที่อยู่ในเรื่องนั้นได้

ซอฟต์แวร์ค้นหาข้อมูล (Resource Discovery Software)
             หมายถึงวอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือสำหรับการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ จากแหล่งข้อมูลในที่ต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันนิยมการติดต่อสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเตอร์เน็ท ช่วยให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลที่ต้องการทราบได้จากทั่วโลก

ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ (Business Sofeware)
             เป็นโปรแกรมสำหรับงานทางด้านธุรกิจต่างๆ
             - โปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลัง
 &            - โปรแกรมจัดระบบเงินเดือน
 &nbbsp;           - โปรแกรมวิเคราะห์งบดุล
  p;           - โปรแกรมบัญชีลูกหนี้

ซอฟต์แวร์สร้างสื่อการสอน (Authoring System)
             หมายถึงซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) จะมีเครื่องมือสำหรับสำหรับการสร้างยทเรียน แบบทดสอบ รวมทั้งกาคิดคะแนนการเรียน

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Assisted Intruction)
		สามารถจำแนกได้ทั้งหมด 7 ประเภท คือ
	- แบบฝึกทักษะบทเรียน
	- แบบเจรจา
	- แบบจำลองสถานการณ
	- เกมส์
	- การแก้ปัญหาต่างๆ 
	- การค้นพบสิ่งหม่ๆ 
	- การทดสอบ

มัลติมีเดีย (Multi Media)
             หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ประกอบกราฟิกที่สวยงาม และมีคุณภาพของเสียงที่ดี ซึ่งมัลติมีเดียก็คือ การใช้สื่อกลาง มากกว่า 1 ประเภทขึ้นไป คอมพิวเตอร์จะะชับเสียงผ่านลำโพงด้านซ้ายและขวา ในขณะที่มอนิเตอร์แสดงภาพเคลื่อนไหวที่สวยงาม
             ซอฟต์แวร์มัลติมีเดีย ประกอบไปด้วย
             - ซอฟต์แวร์เกมส์
   ;          - ซอฟต์แวร์สำหรับภาพยนตร์
 &nbbsp;           - ซอฟต์แวร์สำหรับการฟังเพลง
 &            - ซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา

ซอฟต์แวร์แฝงตัวในหน่วยความจำ (TSR : Terminate and stay resident)
              เมื่อโหลดเข้าไปในหน่วยความจำ ก็จะอยู่เช่นนั้นจนกว่าจะทำการยกเลิกซอฟต์แวร์นั้นออกไป การเรียกใช้ทำได้โดยการกดเรียกคีย์ที่กำหนดไว้โปรแกรมก็จะแสดงตัวออกมา


สิทธิในการเรียกใช้ ซอฟต์แวร์
             คอมเมอร์เชียลแวร์ : เป็นชื่อของซอฟต์แวร์ที่ผลิตมาเพื่อจำหน่าย ผู้ใช้ต้องจ่ายเงินจากผู้ผลิต
             แชร์แวร์ : ผู้ผลิตจะกระจายซอฟต์แวร์ให้ผู้ใช้ทดลองระยะเวลาหนึ่ง หากผู้ใช้คิดว่าดีจึงส่งเงินให้ผู้ผลิต เพื่อลงทะเบียนชื่อในายหลัง
             ฟรีแวร์ : จะแจกจ่ายให้ผู้ใช้โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ต่ผู้ผลิตยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
พลับบลิค โดเมน : ผู้ผลิตพัฒนาขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้สาธารณชน เป็นการเผยแพร่ความรู้ความสามารถแก่สาธารณชน



เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์
             1. ความต้องการ ต้องกำหนดงานที่เราจะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ เขียนเหตุผลคร่าวๆ และก็เรื่มศึกษารายละเอียด
             2. รู้จักระบบคอมพิวเตอร์ของเราเอง ซอฟต์แวร์ที่ซื้อมานั้น ต้องทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ของเราได้ เช่น
- ระบบหน่วยปฏิบัติการแบบใด
- หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใด ความเร็วเท่าาไหร่
- การ์ดแสดงผลรุ่นใด มีหน่วยความจำเท่าไไหร่
- หน่วยความจำขนาดเท่าไหร่
- ความจุของฮาร์ดไดร์ฟ
- เครื่อพิมพ์รุ่นใด
- ระบบมัลติมีเดีย
             3. ลองใช้ซอฟต์แวร์ อย่างนอ้ย 15 นาที ทดลองการใช้แง่มุมต่างๆ
- ใช้งานง่ายหรือไม่
- ระบบความช่วยเหลือมีหรือไม่
- คู่มือมีหรือไม่ อ่านง่ายหรือไม่
- มีบริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคหลังการขขายหรือไม่
             4. เลือกเปรียบเทียบ
- เลือกซอฟต์แวร์ที่มีราคาเหมาะสมที่สุดด
- เปิดโอกาสให้คืนซอฟต์แวร์ที่ซื้อไปไม่่น้อยกว่า 30 วัน
             5. การเลือกซื้อซอฟต์แวร์ ต้องใช้เวลาทไความคุ้นเคบราว 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มทำงานได้ ฉะนั้นควรนำซอฟต์แวร์ มาใช้เพื่อความคุ้นเคยเสียก่อนแล้วค่อยเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวต่อไปมาใช้งาน


TOP