วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
เลขที่ ๔๙๙  หมู่ที่ ๘  ตำบลนาทราย   อำเภอลี้   จังหวัดลำพูน   ๕๑๑๑๐
Rear009.gif (3341 bytes)  หลวงปู่กับวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม | บุญฤทธิ์แห่งเมตตาธรรมหลวงปู่  | ประวัติชีวิตและผลงานโดยสังเขป | อาลัยโพธิญาณแห่งล้านนา |
   | พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย    |    เลขที่บัญชีธนาคารวัด  | 

พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย

อารามหนองวัวเฒ่า หมู่ที่ ๙ บ้านหนองปู (ห้วยต้ม) ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ความเป็นมาในการก่อสร้าง หลวงปู่อธิษฐาน แปลนพระมหาธาต คำไหว้พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธรูป และ รูปเหมือนพระเถราจารย์ บัวยอดฉัตรทองคำ อานิสงส์การสร้างเจดีย์

แปลนพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย   โดยหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา

jadee1.jpg (70622 bytes)

     ๒. ขนาดองค์พระเจดีย์ : สร้างบนเนื้อที่ ๖ ไร่ โดยฐานของพระเจดีย์องค์ใหญ่รวมทั้งบริวารทั้งหมด มีขนาด กว้าง ๔๐ x ๔๐ เมตร ความสูงขององค์พระเจดีย์ โดยวัดจากพื้นถึงบัวยอดฉัตร ๖๔.๓๙ เมตร

jp3.jpg (33951 bytes)    ๓. งบประมาณในการก่อสร้าง : ประมาณ ๕๐ ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน (๗ สิงหาคม ๒๕๔๕) ได้ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า ๒๗ ล้านบาท

งานก่อและฉาบองค์พระเจดีย์ทั้งหมดได้เสร็จสิ้นแล้ว ขณะนี้กำลังหุ้มทองจังโก้ที่องค์พระเจดีย์ทั้ง ๔๙ องค์

เตรียมการเพื่อหล่อบัวยอดฉัตรทองคำของพระเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งได้กำหนดพิธีเททองไว้ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ โดยมี

ประธานคณะกรรมการอุปถัมภ์ฝ่ายบรรพชิต
พระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าคณะภาค ๗
รองเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ   กรุงเทพมหานคร
ประธานคณะกรรมการอำนวยการ
พลเอก วัธนชัย-คุณหญิงจิระประวัติ   ฉายเหมือนวงศ์
รายนามพระเถราจารย์แผ่เมตตาจิตในพิธีเททอง
๑. หลวงปู่ครูบาดวงดี  สุภัทโท   วัดท่าจำปี  จ. เชียงใหม่
๒. หลวงปู่หลวง   กตปุญฺโญ  วัดป่าสำราญนิวาส   จ. ลำปาง
๓. หลวงพ่อครูบาทอง  สุมังคโล   วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จ. เชียงใหม่
๔. หลวงพ่อลำใย   ปิยวัณโณ  วัดทุ่งลาดหญ้า  จ. กาญจนบุรี

หัวใจของพระมหาธาตุ

jp5.jpg (10739 bytes)๑. ช่องตรงกลาง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิขนาด ๓๐ นิ้ว ต้นโพธิ์ ๑ ต้น อยู่ด้านหลังพระพุทธรูป ไม้เท่าหินอ่อน เครื่องกรองน้ำหินอ่อน ไม้แก่นจันทร์ จากประเทศอินเดีย หีบหินอ่อนบรรจุผ้าจีวร ๓๐ เมตร บรรจุในหีบแก้วชั้นหนึ่ง ไม้เท้าทำจากพญาไม้หุ้มด้วยเงิน ตาลปัตรแบบล้านนาทำด้วยทองเหลืองปิดทอง และพระธาตุต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องสักการะบูชาที่มีผู้ศรัทธานำมาถวาย (อาทิ แก้ว แหวนเงินทอง)
๒. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง มองพิจารณารัตนบังลังก์ (แท่นแก้ว)jp14.jpg (22766 bytes)
๓.ทิศเหนือตรงประดิษฐานพระพุทธรูปปางเดินจงกรม (ปางลีลา)
    ๔. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานพระพุทธชินราช ขนาด ๓๐ นิ้ว มีซุ้มเรือนแก้ว
     ๕. ทิศตะวันออกตรง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพร มีรูปคนเลี้ยงแพะ มีรูปแพะ ๒ ตัว มีพระพุทธรูป ขนาด ๙ นิ้ว ๑๐ นิ้ว ประมาณ ๒๐๐ องค์ รวมทั้งพระแก้วบรรจุไว้

jp6.jpg (23617 bytes)๖. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกอยู่กลางสระโบกขรณี มีน้ำล้อมรอบ มีสำเภาเงิน สำเภาทอง (น้ำได้มาจากน้ำทิพย์ ๗ บ่อ คือ บ่อน้ำทิพย์ที่วัดพระธาตุแก่งสร้อย, วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม, วัดพระบาทสามยอด (บ้านโฮ่ง), วัดพระบาทตะเมาะ, ดอยขะม้อ ลำพูน (อยู่บนยอดเขา), วัดแม่ต๋ำ (ลำปาง) , บ่อน้ำพระฤาษี (นอกหมู่บ้านห้วยต้ม)

     ๗. ทิศใต้ตรง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร มีไม้โพธิ์ (ไม้นิโครธ) รูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ถวายบาตร ๔ ใบ แด่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าอธิษฐานจิตว่า ถ้าพระองค์สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าจริง ก็ขอให้บาตรทั้ง ๔ ใบรวมเป็นใบเดียว และมีรูปปั้นตปุสสะ กับ ภัลลิกะ ถือข้าวสัตตู (ข้าวมธุปายาส) รูปพระอินทร์ถือถาดสมอดำ รูปท้าวมหาพรหมอาราธนาพระพุทธเจ้าเทศนาธรรม

     ๘. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประดิษฐานพระมหาอุปคุต และหม้อบรรจุพระธาตุอยู่หน้าพระอุปคุต ๙. ทิศตะวันตกตรง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพร รูปพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา

 

นอกจากนี้แล้ว หลวงปู่ครูบาชัยวงศาได้เมตตาให้ศิษยานุศิษย์ และผู้ที่มีจิตศรัทธาทั่วไป

        ๑. นำพระพุทธรูปประจำวันเกิดของแต่ละคนมาถวายบรรจุในพระมหาเจดีย์ ซึ่งมีขนาด ๓๐ นิ้ว, ๒๐ นิ้ว หรืออย่างน้อยสุดขนาด ๙ นิ้ว จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ (เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์)

jp10.jpg (33796 bytes)

    ๒. พระพุทธรูปยืนปางต่าง ๆ เฉพาะองค์พระสูง ๘๐ นิ้ว (ไม่รวมพระเกศ) ฐานสูง ๔ นิ้ว พระเกศดอกบัวตูม พ่นสีทองคำเคลือบแลคเกอร์ เพื่อประดิษฐานไว้ในฐานอุโมงค์ของพระมหาเจดีย์

        ๓. สร้างรูปเหมือนพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านั่งสมาธิหน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว ฐานสูง ๔ นิ้ว เพื่อประดิษฐานไว้รอบพระมหาเจดีย์

 

พระนิพพานไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นปัจจัตตัง

หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา