มนสิการโดยอัปปนา
- ข้อว่า โดยอัปปนา คือ โดยโกฏฐาส
( ส่วนของร่างกาย ) ที่จะเกิดอัปปนา ( ฌานจิต ) นี้เป็นอธิบายในข้อนั้น
คือ บัณฑิตพึงทราบว่าในโกฏฐาส ( ส่วนของร่างกาย ) ทั้งหลายมีผมเป็นต้น อัปปนาย่อมมีได้ในโกฏฐาสหนึ่งๆ
- นี่เป็นอธิบายในข้อว่า "
และสุตตันตะ ๓ " นั้นว่า สัตตันตะะ ๓ นี้คือ อธิจิตต ( สูตร ) สีติภาว (
สูตร )
โพชฌงคโกสัลล ( สูตร ) พระโยคาวจรควรทราบ เพื่อประกอบวิริยสมาธิ
อธิจิตตสูตร
- ใน ๓ สูตรนั้น สูตรนี้ว่า "
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ต้องมนสิการนิมิต ๓ ตามกาล
อันควร คือต้องมนสิการสมาธินิมิตตามกาลอันควร ต้องมนสิการปัคคหนิมิต ( ปัคคหะ
= เพียร )
ตามกาลอันควร ต้องมนสิการอุเบกขานิมิตตาลกาลอันควร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต
พึงมนสิการนิมิตส่วนเดียวเท่านั้นไซร้ ย่อมเป็นได้ที่จิต ( ของเธอ ) จะพึงเป็นไปข้างโกสัชชะ
( ความ
เกียจคร้าน ) เสีย
- ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงมนสิการปัคคหนิมิต
( ปัคคหะ = เพียร ) ส่วนเดียวเท่านั้นไซร้
ย่อมเป็นได้ที่จิต ( ของเธอ ) จะพึงเป็นไปข้างอุทธัจจะเสีย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงมนสิการ
อุเบกขานิมิตส่วนเดียวเท่านั้นไซร้ ย่อมเป็นได้ที่จิต ( ของเธอ ) จะไม่พึงตั้งมั่นถูกทางเพื่อสิ้นอาสวะ
ทั้งหลาย ต่อเมื่อภิกษุผู้ประกอบอธิจิต มนสิการสมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อุเบกขานิมิตตาลกาลอันควร
จิต ( ของเธอ ) นั้นจึงจะเป็นจิตอ่อน ควรแก่การ เป็นจิตผ่องใสและไม่แตก ตั้งมั่นถูกทางเพื่อสิ้น
อาสวะทั้งหลาย อุปมาเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทอง ก่อเตาเข้า ครั้นก่อเตาเข้า
ก็สุมเบ้า
ครั้นสุมเบ้าแล้วใช้คีมจับทองวางลงไปในเบ้าแล้ว ( สูบ ) เป่าไปตามกาลอันควร (
ถ้าไฟแรงร้อนมาก
ไปก็ ) พรมน้ำ ( ที่ทอง ) ตามกาลอันควร ( ถ้าไฟพอดีก็ ) ดูอยู่เฉยๆ ตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย
หากว่าช่างทองก็ตาม ลูกมือช่างทองก็ตาม จะพึง ( สูบ ) เป่าทองนั้นไปส่วนเดียวไซร้
ย่อมเป็นได้
ที่ทองนั้นจะพึงไหม้ไป หากช่างทองก็ตามลูกมือช่างทองก็ตาม พรมน้ำทองนั้นไปท่าเดียวไซร้
ย่อม
เป็นได้ที่ทองนั้นจะพึงเย็นเสีย หากช่างทองก็ตาม ลูกมือช่างทองก็ตาม ( พัก )
ดูทองนั้นอยู่เฉยๆ
ไปอย่างเดียวไซร้ ย่อมเป็นไปได้ที่ทองนั้นจะไม่พึงถึงซึ่งความสุกดี ต่อเมื่อช่างทองก็ดี
ลูกมือช่าง
ทองก็ดี ( สูบ ) เป่าทองนั้นไปตามกาลอันควร พรมน้ำทองนั้นไปตามกาลอันควร ( พัก
) ดูทองนั้น
อยู่เฉยๆ ตามกาลอันควร ทองนั้นจึงจะอ่อน ควรแก่การ เป็นทองสุกปลั่งและไม่เปราะ
ใช้การได้ดี
แม้นช่างทองประสงค์ ( จะทำเป็น ) เครื่องประดับชนิดใดๆ เป็นเข็มขัดก็ดี
- เป็นตุ้มหูก็ดี เป็นเครื่องประดับคอก็ดี
เป็นสายสังวาลก็ดี สิ่งที่ประสงค์นั้นก็ย่อมสำเร็จแก่เขาแล
ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบอธิจิต ( ต้องมนสิการนิมิต ๓ ตาลกาลอันควร )
ฯลฯ ( จิตของเธอ
จึงจะ ) ตั้งมั่นถูกทางเพื่อสิ้นอาสวะทั้งหลาย แม้นเธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ซึ่ง
ธรรมที่จะเป็นอภิญญาสัจฉิกรณียะใดๆ เมื่อได้เหตุอันควร เธอย่อมจะถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์
ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้นๆ โดยแท้ " ( องฺ.ติก. ๒0/๓๒๙ ) ดังนี้
พึงทราบว่า ชื่ออธิจิตต ( สูตร )
สีติภาวสูตร
- สูตรนี้ว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
๖ ประการ เป็นผู้อาจเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
สีติภาวะ ( ความดับเย็น ) อันยอดเยี่ยม ธรรม ๖ ประการคืออะไรบ้าง คือภิกษุในธรรมวินัยนี้
ข่มจิต
ในสมัยที่จิตควรข่ม ๑ ยกจิตในสมัยที่จิตควรยก ๑ ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่จิตควรทำให้ร่าเริง
๑ เพ่ง
ดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัยที่จิตควรเพ่งดูอยู่เฉยๆ ๑ เป็นผู้มีอธิมุติ ( คืออัธยาศัย
) ประณีต ๑ มุ่งยินดี
พระนิพพาน ๑ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจทำให้แจ้งซึ่งสีติ
ภาวะอันยอดเยี่ยม " ( องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๔๘๔ ) ดังนี้ พึงทราบว่า
ชื่อ สีติภาว ( สูตร )
โพชฌงคโกสัลลสูตร
- ส่วนสัตตโพชฌงคโกสล ได้แสดงมาแล้วในอัปปนาโกศลกถาว่า
" ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด
จิตหดหู่ ในสมัยนั้น ( กาลนั้น ) มิใช่กาลที่จะบำเพ็ญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ "
( สํ.มหาวาร. ๑๙/๑๕๖ )
ดังนี้ เป็นอาทิ
- พระโยคีนั้น ทำอุคคหโกสัลละ ๗ วิธีนี้ ให้เป็นอันถือเอาได้อย่างดี
และกำหนดมนสิการโกสัลละ ๑0 วิธีนี้ด้วยดี
โดยนัยดังกล่าวมาดังนี้แล้ว ก็จะพึงขึ้นเอากรรมฐานได้ดี ด้วยอำนาจแห่งโกสัลละทั้ง
๒ ( นั้น )
ก่อนจะเริ่มกรรมฐาน
- ก็ถ้าว่าพระโยคีนั้นมีความผาสุกอยู่ในวิหารเดียวกันกับพระอาจารย์ไซร้
เธอก็ไม่จำต้องให้อาจารย์บอก
( วิธีต่างๆ ) โดยพิสดารอย่างนั้น ประกอบกรรมฐานไปได้คุณวิเสส ( แห่งภาวนาขั้น
๑ ) แล้วจึง ( ขอ ) ให้ท่าน
บอกขั้นสูงๆ ขึ้นไป ( แต่ ) พระโยคีผู้ใคร่จะ ( ไป ) อยู่ที่อื่น พึงให้อาจารย์บอกให้โดยพิสดาร
โดยวิธีตามที่
กล่าวแล้วทบทวนบ่อยๆ ( ให้คล่องปากและใจ ) ตัดที่ๆ เป็นปมเสียทั้งหมดละเสนาสนะที่ไม่เหมาะสมแล้วอยู่ใน
เสนาสนะที่เหมาะสม ทำการตัดปลิโพธเล็กน้อยเสียตามนัยที่กล่าวในปฐวีกสิณนิเทศนั่นแล้ว
จึงทำบริกรรมโดย
ปฏิกูลมนสิการเถิด
- ก็แลเมื่อจะทำ พึงถือเอานิมิตในผมทั้งหลายเป็นอันดับแรก
ถามว่า พึงถือเอานิมิตในผมทั้งหลายอย่างไร ?
ตอบว่า พึงถอนผมเส้น ๑ หรือ ๒ เส้น ( พระวินัยบัญญัติห้ามภิกษุถอนผม แต่ถอนเพื่อประโยชน์เช่นนี้ท่านว่าไม่มี
โทษ ) วางลงที่ฝ่ามือแล้วกำหนดสี ( ของมัน ) ก่อนจะดูผมทั้งหลายแม้ในที่ๆ เขาตัดผม
ก็ควร แม้จะดูผมทั้งหลายที่
ตกอยู่ในน้ำหรือตกอยู่ในยาคู ก็ควรเหมือนกัน เห็นในกาลที่สีมันยังดำ ก็พึงมนสิการว่ามันดำ
เห็นในกาลที่สี
มันขาว ก็พึงมนสิการว่ามันขาว แต่เห็นในกาลที่มันมีสีเจือปน ก็พึงมนสิการโดยสีที่หนา
( กว่า ) ก็ในผมทั้งหลาย
ฉันใด ในโกฏฐาสตจปัญจกะทั้งสิ้นก็ฉันนั้น ได้เห็นเทียวจึงถือเอานิมิต "
( ตจปัญจกะนี้ มองดูเห็นได้ทั้งนั้น
ส่วน
ในโกฏฐาส ( ส่วนของร่างกาย ) นอกนั้นดูไม่เห็น ได้แต่ฟังและนึกรู้แล้วถือเอานิมิต
) ครั้นถือเอานิมิตอย่างนี้แล้ว
พึงกำหนดลักษณะโกฏฐาสทั้งปวง โดยสี สัณฐาน ทิศ โอกาส ( ที่ตั้ง ) และตัดตอนแล้ว
จึงกำหนดความเป็น
ปฏิกูล ๕ ประการ โดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัยอยู่ และโอกาส
- ( ต่อไป ) นี้เป็นอนุบุพพิกถาในการกำหนด ( ลักษณะและความเป็นปฏิกูล
) นั้นในโกฏฐาสทั้งปวง
ผม
- อันดับแรก เกสา - ผมทั้งหลาย โดยสีปกติ เป็นสีดำดุจสีผลประคำดีควายใหม่ๆ
โดยสัณฐาน ยาว กลม
ดุจสัณฐานคันชั่ง โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน ( แห่งร่างกาย ) โดยโอกาส ( ที่ตั้ง
) หนังสดที่หุ้มกะโหลกศีรษะ
- ด้านข้างทั้งสองกำหนดตัดเอาแค่หมวกหู
ด้านหน้าแค่กรอบหน้าผาก ด้านหลังแค่คอต่อ เป็นโอกาส ( ที่ตั้ง )
ของผมทั้งหลาย โดยตัดตอน ผมทั้งหลาย ข้างล่างตัดตอนด้วยพื้นรากของตน อัน ( หยั่ง
) เข้าไปในหนังหุ้มศีรษะ
สักแค่ปลายเมล็ดข้าวเปลือกตั้งอยู่ ข้างบนตัดตอนด้วยอากาศ ข้างๆ ตัดตอนด้วยเส้นผมด้วยกัน
การกำหนดตัด
โดยนัยว่า " ผม ๒ เส้นไม่มีรวมเป็นเส้นเดียว ( คือเป็นเส้นๆ หรือเส้นใครเส้นมัน
) " นี้เป็นตัดตอนด้วยส่วน
ของตน ชื่อว่าผมทั้งหลาย ( นั้น ) ธรรมดาทำมามิให้ปนกับโกฏฐาสที่เหลืออีก ๓0
โดยนัยเช่นว่า " ผมมิใช่ขน
ขนก็มิใช่ผม " ดังนี้ การกำหนดตัดว่า " โกฏฐาสนั้นเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก
" นี้เป็น ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน
นี้เป็นกำหนดโดยลักษณะมีสีเป็นต้นแห่งผมทั้งหลาย
- ส่วนต่อไปนี้ เป็นกำหนดโดยความปฏิกูล ๕ ส่วน โดยประการมีสีเป็นอาทิแห่งผมเหล่านั้น
- อันผมนั้น แม้โดยสีก็ปฏิกูล แม้โดยสัณฐาน แม้โดยกลิ่น
แม้โดยที่อาศัย แม้โดยโอกาส ก็ปฏิกูล อธิบายว่า
- คนทั้งหลายเห็นสิ่งอะไรๆ ที่มีสีคล้ายผม ในภาชนะข้าวต้มหรือในภาชนะข้าวสวยก็ตาม
แม้เป็นของพึงใจ
ก็จะเกลียดขึ้นมา บอกว่า " นี่มันปนผมนำมันไปเสีย " ผมทั้งหลายเป็นของปฏิกูลแม้โดยสี
ดังนี้
- อนึ่ง คนทั้งหลายกินอาหารกลางคืนอยู่ แม้นถูก ( ใย )
เปลือกรัก หรือเปลือกปออันมีสัณฐานดังผมเข้า ก็จะ
เกลียดขึ้นมาอย่างนั้นเหมือนกัน ผมปฏิกูลโดยสัณฐาน ดังนี้
- อนึ่ง กลิ่นของผมที่เว้นจากการตกแต่ง มีทาน้ำมันและอบดอกไม้เป็นต้น
ย่อมน่าเกลียดนัก กลิ่นของผมที่ถูก
ไฟยิ่งน่าเกลียดกว่านั้น แท้จริง ผมทั้งหลาย โดยสีและสัณฐานจะพึงไม่ปฏิกูลก็เป็นได้
แต่ว่าโดยกลิ่นแล้ว ปฏิกูล
ทีเดียว อุปมาเหมือนก้อนอุจจาระของเด็กเล็ก โดยสี สีมันก็เหมือนสีขมิ้น แม้โดยสัณฐาน
ก็สัณฐานเหมือนแง่ง
ขมิ้น และซากสุนัขดำที่ขึ้นแล้ว เขาทิ้งไว้ในที่สำหรับทิ้งขยะ โดยสี สีมันก็เหมือนสีผลตาลสุก
โดยสัณฐาน ก็สัณฐาน
เหมือนตะโพนที่เขาปล่อยกลิ้งอยู่ เขี้ยวของมันเล่าก็สัณฐานเหมือนดอกมะลิตูม เพราะเช่นนี้อุจจาระเด็กและ
ซากสุนัขดำทั้ง ๒ อย่าง โดยสีและสัณฐาน จะไม่ปฏิกูลก็เป็นได้ แต่ว่าโดยกลิ่นละก็ปฏิกูลแน่ฉันใด
แม้ผมก็ฉันนั้น
โดยสีและสัณฐานจะไม่ปฏิกูลก็เป็นได้ แต่ว่าโดยกลิ่นแล้วปฏิกูลเป็นแท้แล
- อนึ่ง ผักสำหรับแกง อันเกิดในที่โสโครกด้วยน้ำครำที่ไหลออกไปแต่หมู่บ้าน
ย่อมเป็นของน่าเกลียดไม่น่า
บริโภคสำหรับคนชาวเมืองฉันใด แม้ผมก็ฉันนั้น ชื่อว่าน่าเกลียด เพราะเกิดด้วยน้ำที่ซึมออกมาแต่โกฏฐาสมี
น้ำเหลือง เลือด มูตร กรีส น้ำดีและเสมหะเป็นอาทิ นี้แลเป็นความปฏิกูลโดยที่อาศัยแห่งผมทั้งหลายนั้น
- อนึ่ง อันผมทั้งหลายนี้ เกิดในกองโกฏฐาส ๓๑ ดุจผักที่ขึ้นในกองคูถ
มันจึงเป็นของน่าเกลียดนัก เพราะเกิด
ในที่ไม่สะอาด ดุจผักที่เกิดในที่โสมมทั้งหลายมีที่ป่าช้าและที่เทขยะเป็นต้น
และดุจดอกไม้ ( น้ำ ) มีดอกบัวหลวง
และดอกบัวสายเป็นอาทิ ที่เกิดในที่ไม่สะอาดทั้งหลาย มีคูเมือง เป็นต้น นี้แลเป็นความปฏิกูลโดยโอกาสแห่งผม
ทั้งหลายนั้น
- พระโยคาวจรพึงกำหนดความปฏิกูล ๕ ส่วน โดยสี สัณฐาน กลิ่น
ที่อาศัย และโอกาส แห่งโกฏฐาสทั้งปวง
ดุจกำหนดความปฏิกูลแห่งผมทั้งหลายฉะนั้นเถิด แต่ว่าโดย ( ลักษณะคือ ) สี สัณฐาน
ทิศ โอกาส และการ
ตัดตอน ต้องกำหนดแยกๆ กันทุกโกฏฐาส
ขน
- ในโกฏฐาสเหล่านั้น พึงกำหนด โลมา - ขนทั้งหลายก่อน
ขนปกติมีประมาณ ๙0,000 ขุม โดยสีปกติ ไม่ดำ
แท้เหมือนผม แต่เป็นดำปนเหลือง โดยสัณฐาน ปลายโค้ง สัณฐานดังรากตาล โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง
๒ โดยโอกาส
เว้นโอกาสที่ผมตั้งอยู่และฝ่ามือฝ่าเท้าเสีย เกิดอยู่ตามหนังหุ้มสรีระนอกนั้นโดยมาก
โดยตัดตอน เบื้องล่างตัดตอน
ด้วยพื้นรากของตนอัน ( หยั่ง ) เข้าไปในหนังหุ้มสรีระประมาณ ลิขา ๑ ตั้งอยู่
*
- * ลิขา เป็นมาตราวัดความยาว
( ซึ่งกล่าวไว้ในอภิธานนัปปทีปิกา ดังนี้ ๓๖ ปรมาณูเป็นอณู , ๓๖ อณูเป็น
ตัตชารี, ๓๖ ตัตตชารีเป็นรถเรณู , ๓๖ รถเรณูเป็นลิกขา , ๗ ลิกขาเป็นอูกา , อูกาเป็นธัญญมาส
( เมล็ดข้าวเปลือก ) ,
๗ ธัญญมาสเป็นอังคุละ ( นิ้ว ) , ๑๒ อังคุละเป็นวิทัตถิ ( คืบ ) , ๒ วิทัตถิเป็นรตนะ
( ศอก ) ฯลฯ ) ลิขา= ไข่เหา,
ปลายเหล็กจาร
- เบื้องบนตัดตอนด้วยอากาศ เบื้องขวางตัดตอนด้วยเส้นขนด้วยกัน
การกำหนดตัดโดยนัยว่า " ขน ๒ เส้น
ไม่มีรวมเป็นเส้นเดียว ( คือเส้นใครเส้นมัน ) " นี้เป็นตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งขนเหล่านั้น
ส่วนตัดตอนด้วย
ส่วนที่ผิดกับตนก็ เป็นเช่นเดียวกับ ( การกำหนด ) ผมนั่นแล
เล็บ
- คำว่า นขา - เล็บทั้งหลาย เป็นชื่อแห่งใบเล็บ
๒0 อัน เล็บทั้งปวงนั้น โดยสี เป็นสีขาว โดยสัณฐาน มีสัณฐาน
ดังเกล็ดปลา โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ คือ เล็บเท้า เกิดในทิศเบื้องล่าง เล็บมือเกิดในทิศเบื้องบน
โดยโอกาส
ตั้งอยู่หลังปลายนิ้วทั้งหลาย โดยตัดตอน ในทิศทั้ง ๒ ( คือ ล่าง บน ) กำหนดตัดตอนด้วยเนื้อปลายนิ้วข้างใน
กำหนดตัดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ข้างนอกและปลาย กำหนดตัดด้วยอากาศ ด้านขวาง กำหนดตัดด้วยเล็บด้วยกัน
การกำหนดตัดโดยนัยว่า " เล็บ ๒ ใบไม่มีรวมอยู่ด้วยกัน " นี้เป็นตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งเล็บเหล่านั้น
ส่วน
ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับ ( การกำหนด ) ผมนั่นแล
ฟัน
- คำว่า ทนฺตา - ฟันทั้งหลาย คือกระดูกฟัน ๓๒ ซี่ของผู้มีฟันเต็ม
แม้ฟันทั้งหลายนั้น โดยสีก็ขาว โดยสัณฐาน
มีสัณฐานหลายอย่าง จริงอยู่ บรรดาฟันเหล่านั้น ( ว่าด้วย ) ฟัน ๔ ซี่ตรงกลาง
ฟันแถวล่างก่อน มีสัณฐานดุจ
เมล็ดน้ำเต้าที่เขาปักเรียงกันไว้ที่ก้อนดินเหนียว สองข้างฟันกลาง ๔ ซี่นั้น
ฟันข้างละซี่มีรากเดียว ปลายก็แง่
เดียว สัณฐานดุจดอกมะลิตูม ถัดไป ฟันข้างละซี่ มี ๒ ราก ปลายก็มี ๒ แง่ สัณฐานดุจไม้ค้ำเกวียน
ถัดไป ฟัน
ข้างละ ๒ ซี่ มี ๓ รากปลายก็ ๓ แง่ ถัดไป ฟันข้างละ ๒ ซี่ มี ๔ ราก ปลายก็ ๔
แง่แล แม้แถวบนก็ท่าเดียวกันนั้น
โดยทิศ ฟันนั้นเกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ตั้งอยู่ในกระดูกกรามทั้ง ๒ โดยตัดตอน
ข้างล่างกำหนดตัดด้วยพื้นราก
ของตนอันตั้งอยู่ในกระดูกกราม ข้างบน กำหนดตัดด้วยอากาศ เบื้องขวาง กำหนดตัดด้วยฟันด้วยกัน
การกำหนด
ตัดโดยนัยว่า " ฟัน ๒ ซี่ไม่มีรวมอยู่ด้วยกัน " นี้เป็นตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งฟันเหล่านั้น
ส่วนตัดตอนด้วยส่วนที่
ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับ ( การกำหนด ) ผมนั่นแล
หนัง
- คำว่า ตโจ - หนัง คือหนังที่หุ้มร่างกายทั้งสิ้นอยู่
เหนือหนังนั้น มีสิ่งที่ชื่อว่าฉวี ( ผิว ) มีสีต่างๆ เช่น
ดำ คล้ำ เหลือง ซึ่ง ( หาก ) ชักเอาออกจากร่างกายจนสิ้น ( ปั้นเป็นก้อนเข้า )
ก็จะได้ประมาณเท่าเมล็ดใน
พุทรา ( พุทราพันธุ์อินเดีย ไม่ใช่พุทราพันธุ์ไทย ) แต่ตโจ โดยสีก็ขาวเท่านั้น
ก็แลความที่มันขาวนั้นจะปรากฏ
เมื่อฉวีถลอก เพราะเหตุมีเปลวไฟลวกเอาและถูกเครื่องประหารเป็นต้น โดยสัณฐานมันก็มีสัณฐานเหมือนร่าง
กายนั่นเอง นี่เป็นความสังเขปในข้อว่าโดยสัณฐานนี้